ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2565 ถ้าติดโควิด จะมีแนวทางปฎิบัติตามนี้

——
แนวปฏิบัติของประชาชนเมื่อสงสัยว่าติดโควิด-19 ต้องทำอย่างไร ?



ดำเนินการต่ออย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้


ตรวจสอบเขตพื้นที่และเบอร์โทรศัพท์



(หน่วยบริการปฐมภูมิ เช่น สถานีอนามัย, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.), หน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาล, ศูนย์สุขภาพชุมชน ศูนย์บริการสาธารณสุข รวมถึง คลินิกชุมชนอบอุ่น เป็นต้น)



จะเข้าสู่ระบบการรักษาตามแนวทางใหม่ของกระทรวงสาธารณสุขที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 คือ รักษาแบบผู้ป่วยนอกและแยกกักตัวที่บ้านตามแนวทาง “เจอ-แจก-จบ” จะได้รับการจับคู่กับสถานพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก ด้วยระบบ tele-health ดังนี้
แยกกักตัวที่บ้าน 10 วัน
• จ่ายยาตามอาการ
• โทรติดตามอาการ (ครั้งเดียว 48 ชั่วโมง)
• ระบบส่งต่อเมื่ออาการแย่ลง
• ไม่ได้รับอาหาร ไม่ได้รับอุปกรณ์ประเมิน เช่น เครื่องวัดไข้และเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว
***สำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 สิทธิบัตรทอง ที่ได้รับการประเมินว่าไม่มีอาการแต่ยืนยันว่าต้องการเข้าระบบการรักษาที่บ้าน (Home Isolation) ตัดสินใจร่วมกับสถานพยาบาล เพื่อเข้ารับการรักษาที่บ้าน (Home Isolation) และได้รับการดูแลตามระบบได้เช่นเดียวกัน

1.ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง/ไม่มีโรคร่วมสำคัญ
จับคู่กับสถานพยาบาลเพื่อเข้าระบบรักษาที่บ้าน (Home Isolation) กรณีสภาพบ้านไม่พร้อมเข้าระบบการรักษาโดยชุมชนหรือศูนย์พักคอย (Community Isolation) ได้รับการดูแลแบบ tele-health แพทย์จะพิจารณาว่าจะให้ยาฟาวิพิราเวียร์หรือไม่ หากกำลังใช้ฟ้าทะลายโจรจะต้องหยุดฟ้าทะลายโจรก่อน มีระบบส่งต่อเมื่ออาการแย่ลง (โทร.ติดตามอาการ, เครื่องวัดไข้และเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว, ส่งอาหารถึงบ้าน)
2.ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง หรือผู้ป่วยที่มีปอดอักเสบ และ 3.ผู้ป่วยที่มีโรครุนแรงมาก
สองกลุ่มนี้แพทย์จะพิจารณารับการรักษาในโรงพยาบาล และพิจารณาให้ยารักษาที่มียาชนิดตามความเหมาะสม











สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

เพิ่มเพื่อนไลน์กับ สปสช. @nhso
——
สปสช. เผยแพร่ 2 มีนาคม 2565